6 ตุลา ลืมไม่ได้ จำไม่ลง : ว่าด้วย 6 ตุลา 2519
ธงชัย วินิจจะกูล
ท่ามกลางวิกฤตการเมืองไทยที่ดำเนินมายาวนานเกือบหนึ่งทศวรรษนับตั้งแต่รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ถามว่าทำไมเรายังต้องอ่านเรื่องราว 6 ตุลา 2519 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมานานเกือบสี่ทศวรรษแล้ว
ทำไมลืม 6 ตุลาไม่ได้ในสถานการณ์แบบนี้ ?
ในนามของสำนักพิมพ์ แม้ไม่ได้ตั้งใจจะจำ แต่เหตุการณ์เมษา-พฤษภา 2553 ที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้หลายคนหวนกลับไปนึกถึงความละม้ายคล้ายคลึงของมันกับเหตุการณ์ 6 ตุลา ไม่ว่าในแง่ข้อกล่าวหาเรื่องล้มเจ้า การสังหารหมู่ประชาชน ผู้บริสุทธิ์ที่เกิดขึ้นกลางเมืองหลวง มาตรา 112 การล่าแม่มดที่ติดตามมา ข้อเสนอเรื่องการนิรโทษกรรม คำถามว่าใครอยู่เบื้องหลัง ใครสั่งการ ใครบ้างมีส่วนเกี่ยวข้องในแผนสมคบคิดที่นำไปสู่การสังหารหมู่ที่ราชประสงค์ อาชญากรรมรัฐที่โจ่งแจ้งขนาดนี้ มีหลักฐานมากมายขนาดนี้ เหตุใดจึงไม่มีใครต้องรับโทษ ?
คำถามที่คล้ายกันจนดูหลอกหลอนนี่เองทำให้หลายคนนึกถึง 6 ตุลาขึ้นมาอีก ทำให้หลายคนพูดถึงสิ่งที่เรียกว่า “ตาสว่าง” โดยเชื่อมโยงการสังหารหมู่ 2 ครั้งที่ห่างกัน 30 กว่าปีเข้าด้วยกัน แน่นอนว่าทั้งสองเหตุการณ์มีเงื่อนไขปัจจัยและบริบทที่ต่างกันลิบลับ กระนั้นก็ตาม สิ่งที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงไปเท่าไรนักก็คือ ทั้งสองเหตุการณ์เกิดขึ้นภายใต้ “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”
เหตุการณ์ 6 ตุลาเป็นบทเรียนประวัตศาสตร์ครั้งสำคัญที่ชี้ชัดว่า ใครเป็นใคร และอะไรเป็นอะไรในสังคมการเมืองไทย ทว่าผ่านไปเกือบครบ 40 ปี กล่าวได้ว่าคนไทยส่วนใหญ่ก็ยังไม่รู้จัก 6 ตุลา ทำไมจึงยากเย็นนักที่จะจดจำเหตุการณ์ 6 ตุลา หรือแม้กระทั่งเหตุการณ์ปราบปรามประชาชนครั้งอื่นๆ เช่น การลุกฮือในปี 2516 และพฤษภา 2535 ธงชัยเสนอว่า เพราะเหตุการณ์เหล่านี้ขัดฝืนกับประวัติศาสตร์แห่งชาติของคนไทย การจดจำรำลึกจึงกระทบความเชื่ออย่างรุนแรง
เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2538 ธงชัยได้เขียน “จดหมายถึงเพื่อนๆ โดมรวมใจและมิตรสหายเก่าๆ ทั้งหลาย” เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์จัดงาน 20 ปี 6 ตุลา ในยุคสมัยที่ 6 ตุลายังคงเป็น “ความเงียบ” ในสังคมไทย ธงชัยเสนอว่า เหตุที่ 6 ตุลายังคงจำไม่ลงเนื่องจากสังคมไทยยังคงยึดติดกับเรื่องเล่าแบบฉบับว่าสังคมไทยเป็นเสมือนหมู่บ้านขนาดใหญ่ ผู้คนรู้จักถ้อยทีถ้อยอาศัย รู้รักสามัคคี ยังมองว่าความขัดแย้งเป็นเรื่องผิดปกติที่ไม่ดี และทางแก้ไขคือการอาศัยพ่อบ้านที่เป็นธรรมมาช่วยขจัดปัดเป่าปัญหาต่างๆ ให้ ไม่น่าเชื่อว่าผ่านไป 20 ปี ความเชื่อเช่นนี้ยังคงดำรงอยู่ คณะรัฐประหารแทบทุกชุดรวมถึง คสช. จึงประสบความสำเร็จในการใช้วาทกรรมความสามัคคีปรองดองมาเป็นข้ออ้างในการขึ้นสู่อำนาจอยู่เรื่อยไป
กระนั้นก็ตาม เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 (และน่าจะเหตุการณ์เมษา-พฤษภา 2553 ด้วย) ขัดฝืนกับประวัติศาสตร์แห่งชาติมากกว่าอีกสองเหตุการณ์ในปี 2516 และ 2535 ในแง่ที่ว่ามันจบลงด้วยความพ่ายแพ้ของประชาชน อีกทั้งสถาบันสำคัญอาจเกี่ยวข้องกับการฆาตกรรมหมู่รวมทั้งความรุนแรงหลังจากนั้น และขบวนการนักศึกษาฝ่ายซ้ายหลังจากพ่ายแพ้ในเมืองแล้ว ยังพ่ายแพ้ซ้ำสองจากความผิดหวังและการล่มสลายของ พคท. ในเวลาต่อมา ความทรงจำต่อเหตุการณ์จึงจำต้องกดข่มอยู่ในความเงียบงันที่ทั้งผู้กระทำและเหยื่อต่างกระอักกระอ่วนที่จะพูดถึง จนกลายเป็นสิ่งที่ธงชัยเรียกในบทที่ 1 ของหนังสือเล่มนี้ว่า “ประวัติศาสตร์บาดแผล”
ต่อมาในบทที่ 2 ผู้อ่านจะได้เห็นว่าคนเดือนตุลาร่วมกันต่อสู้อย่างไรเพื่อทลายความเงียบงัน เยียวยาบาดแผลร่วมของคนทั้งรุ่น และเผชิญหน้ากับประเด็นอาชญากรรมรัฐด้วยการบอกเล่าเรื่องราวในที่สาธารณะเป็นครั้งแรกผ่านขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อจัดงานรำลึก 6 ตุลา ในปี 2539 ภายใต้เพดานข้อจำกัดที่จะไม่พูดถึงสิ่งที่พูดไม่ได้
นอกจากนี้ ในบทที่ 3 ธงชัยยังได้ทำการสัมภาษณ์และวิเคราะห์ความเงียบของฝ่ายขวา ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปราว 20 ปีกลับกลายเป็นฝ่ายที่ต้องเงียบเสียเอง เพราะวาทกรรมแวดล้อม 6 ตุลา ซึ่งส่งผลต่อการให้ความหมายของเหตุการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากแล้ว ด้วยเหตุที่ธงชัยเป็นผู้สัมภาษณ์ฝ่ายขวาเหล่านั้นด้วยตนเอง ผลลัพธ์ที่ได้ตลอดจนบทวิเคราะห์ของเขาจึงซับซ้อนน่าสนใจยิ่ง แม้ว่าเราคงต้องการงานศึกษาวิจัยในรายละเอียดและวิธีวิทยาที่แตกต่างไปจากนี้อีกมากก็ตาม
สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันหวังว่าหนังสือรวมบทความ 6 ตุลา ลืมไม่ได้ จำไม่ลง เล่มนี้จะมีส่วนช่วยในการขยับเพดานการพูดถึงสิ่งที่พูดไม่ได้ แต่จำเป็นต้องพูดถึงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะเปลี่ยน (ไม่) ผ่าน ที่กำลังเป็นอยู่นี้ เพื่อว่า 6 ตุลาจะได้เป็นบทเรียนสำคัญ เป็นเครื่องชี้ทิศทางให้กับสังคมไทยที่จะเปิดกว้างต่อการยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างสุดขั้ว การจัดการความขัดแย้งโดยหลีกเลี่ยงการยั่วยุให้ใช้ความรุนแรงเข้าทำร้ายทำลายกัน เป็นสังคมที่นิยมการแสวงหาความจริง และที่สำคัญคือเป็นสังคมที่ยึดหลักความยุติธรรมเสมอหน้า ที่จะไม่ปล่อยให้ผู้กระทำผิดและรัฐอาชญากรไม่ว่าจะอยู่ใน “ชั้น” ไหนของสังคมลอยนวลไม่ต้องรับโทษ
ทำไมลืม 6 ตุลาไม่ได้ในสถานการณ์แบบนี้ ?
ในนามของสำนักพิมพ์ แม้ไม่ได้ตั้งใจจะจำ แต่เหตุการณ์เมษา-พฤษภา 2553 ที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้หลายคนหวนกลับไปนึกถึงความละม้ายคล้ายคลึงของมันกับเหตุการณ์ 6 ตุลา ไม่ว่าในแง่ข้อกล่าวหาเรื่องล้มเจ้า การสังหารหมู่ประชาชน ผู้บริสุทธิ์ที่เกิดขึ้นกลางเมืองหลวง มาตรา 112 การล่าแม่มดที่ติดตามมา ข้อเสนอเรื่องการนิรโทษกรรม คำถามว่าใครอยู่เบื้องหลัง ใครสั่งการ ใครบ้างมีส่วนเกี่ยวข้องในแผนสมคบคิดที่นำไปสู่การสังหารหมู่ที่ราชประสงค์ อาชญากรรมรัฐที่โจ่งแจ้งขนาดนี้ มีหลักฐานมากมายขนาดนี้ เหตุใดจึงไม่มีใครต้องรับโทษ ?
คำถามที่คล้ายกันจนดูหลอกหลอนนี่เองทำให้หลายคนนึกถึง 6 ตุลาขึ้นมาอีก ทำให้หลายคนพูดถึงสิ่งที่เรียกว่า “ตาสว่าง” โดยเชื่อมโยงการสังหารหมู่ 2 ครั้งที่ห่างกัน 30 กว่าปีเข้าด้วยกัน แน่นอนว่าทั้งสองเหตุการณ์มีเงื่อนไขปัจจัยและบริบทที่ต่างกันลิบลับ กระนั้นก็ตาม สิ่งที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงไปเท่าไรนักก็คือ ทั้งสองเหตุการณ์เกิดขึ้นภายใต้ “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”
เหตุการณ์ 6 ตุลาเป็นบทเรียนประวัตศาสตร์ครั้งสำคัญที่ชี้ชัดว่า ใครเป็นใคร และอะไรเป็นอะไรในสังคมการเมืองไทย ทว่าผ่านไปเกือบครบ 40 ปี กล่าวได้ว่าคนไทยส่วนใหญ่ก็ยังไม่รู้จัก 6 ตุลา ทำไมจึงยากเย็นนักที่จะจดจำเหตุการณ์ 6 ตุลา หรือแม้กระทั่งเหตุการณ์ปราบปรามประชาชนครั้งอื่นๆ เช่น การลุกฮือในปี 2516 และพฤษภา 2535 ธงชัยเสนอว่า เพราะเหตุการณ์เหล่านี้ขัดฝืนกับประวัติศาสตร์แห่งชาติของคนไทย การจดจำรำลึกจึงกระทบความเชื่ออย่างรุนแรง
เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2538 ธงชัยได้เขียน “จดหมายถึงเพื่อนๆ โดมรวมใจและมิตรสหายเก่าๆ ทั้งหลาย” เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์จัดงาน 20 ปี 6 ตุลา ในยุคสมัยที่ 6 ตุลายังคงเป็น “ความเงียบ” ในสังคมไทย ธงชัยเสนอว่า เหตุที่ 6 ตุลายังคงจำไม่ลงเนื่องจากสังคมไทยยังคงยึดติดกับเรื่องเล่าแบบฉบับว่าสังคมไทยเป็นเสมือนหมู่บ้านขนาดใหญ่ ผู้คนรู้จักถ้อยทีถ้อยอาศัย รู้รักสามัคคี ยังมองว่าความขัดแย้งเป็นเรื่องผิดปกติที่ไม่ดี และทางแก้ไขคือการอาศัยพ่อบ้านที่เป็นธรรมมาช่วยขจัดปัดเป่าปัญหาต่างๆ ให้ ไม่น่าเชื่อว่าผ่านไป 20 ปี ความเชื่อเช่นนี้ยังคงดำรงอยู่ คณะรัฐประหารแทบทุกชุดรวมถึง คสช. จึงประสบความสำเร็จในการใช้วาทกรรมความสามัคคีปรองดองมาเป็นข้ออ้างในการขึ้นสู่อำนาจอยู่เรื่อยไป
กระนั้นก็ตาม เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 (และน่าจะเหตุการณ์เมษา-พฤษภา 2553 ด้วย) ขัดฝืนกับประวัติศาสตร์แห่งชาติมากกว่าอีกสองเหตุการณ์ในปี 2516 และ 2535 ในแง่ที่ว่ามันจบลงด้วยความพ่ายแพ้ของประชาชน อีกทั้งสถาบันสำคัญอาจเกี่ยวข้องกับการฆาตกรรมหมู่รวมทั้งความรุนแรงหลังจากนั้น และขบวนการนักศึกษาฝ่ายซ้ายหลังจากพ่ายแพ้ในเมืองแล้ว ยังพ่ายแพ้ซ้ำสองจากความผิดหวังและการล่มสลายของ พคท. ในเวลาต่อมา ความทรงจำต่อเหตุการณ์จึงจำต้องกดข่มอยู่ในความเงียบงันที่ทั้งผู้กระทำและเหยื่อต่างกระอักกระอ่วนที่จะพูดถึง จนกลายเป็นสิ่งที่ธงชัยเรียกในบทที่ 1 ของหนังสือเล่มนี้ว่า “ประวัติศาสตร์บาดแผล”
ต่อมาในบทที่ 2 ผู้อ่านจะได้เห็นว่าคนเดือนตุลาร่วมกันต่อสู้อย่างไรเพื่อทลายความเงียบงัน เยียวยาบาดแผลร่วมของคนทั้งรุ่น และเผชิญหน้ากับประเด็นอาชญากรรมรัฐด้วยการบอกเล่าเรื่องราวในที่สาธารณะเป็นครั้งแรกผ่านขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อจัดงานรำลึก 6 ตุลา ในปี 2539 ภายใต้เพดานข้อจำกัดที่จะไม่พูดถึงสิ่งที่พูดไม่ได้
นอกจากนี้ ในบทที่ 3 ธงชัยยังได้ทำการสัมภาษณ์และวิเคราะห์ความเงียบของฝ่ายขวา ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปราว 20 ปีกลับกลายเป็นฝ่ายที่ต้องเงียบเสียเอง เพราะวาทกรรมแวดล้อม 6 ตุลา ซึ่งส่งผลต่อการให้ความหมายของเหตุการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากแล้ว ด้วยเหตุที่ธงชัยเป็นผู้สัมภาษณ์ฝ่ายขวาเหล่านั้นด้วยตนเอง ผลลัพธ์ที่ได้ตลอดจนบทวิเคราะห์ของเขาจึงซับซ้อนน่าสนใจยิ่ง แม้ว่าเราคงต้องการงานศึกษาวิจัยในรายละเอียดและวิธีวิทยาที่แตกต่างไปจากนี้อีกมากก็ตาม
สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันหวังว่าหนังสือรวมบทความ 6 ตุลา ลืมไม่ได้ จำไม่ลง เล่มนี้จะมีส่วนช่วยในการขยับเพดานการพูดถึงสิ่งที่พูดไม่ได้ แต่จำเป็นต้องพูดถึงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะเปลี่ยน (ไม่) ผ่าน ที่กำลังเป็นอยู่นี้ เพื่อว่า 6 ตุลาจะได้เป็นบทเรียนสำคัญ เป็นเครื่องชี้ทิศทางให้กับสังคมไทยที่จะเปิดกว้างต่อการยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างสุดขั้ว การจัดการความขัดแย้งโดยหลีกเลี่ยงการยั่วยุให้ใช้ความรุนแรงเข้าทำร้ายทำลายกัน เป็นสังคมที่นิยมการแสวงหาความจริง และที่สำคัญคือเป็นสังคมที่ยึดหลักความยุติธรรมเสมอหน้า ที่จะไม่ปล่อยให้ผู้กระทำผิดและรัฐอาชญากรไม่ว่าจะอยู่ใน “ชั้น” ไหนของสังคมลอยนวลไม่ต้องรับโทษ
সাল:
2019
সংস্করণ:
1
প্রকাশক:
ฟ้าเดียวกัน
ভাষা:
thai
ISBN 10:
6167667403
ISBN 13:
9786167667409
ফাইল:
PDF, 42.82 MB
IPFS:
,
thai, 2019